5 Sept Rap-Pret at Kedah n Kelantan
6 Sept Rap-Pret at Wat Chetawan, PJ
19 Sept Song-Pret at Kedah n Kelantan
20 Sept Song-Pret at Wat Chetawan, PJ
Friday, September 4, 2009
Tuesday, July 21, 2009
Friday, May 8, 2009
WESAK DAY
HAPPY WESAK DAY or VESAKHA BUCHA
HistoryThe decision to agree to celebrate Vesak as the Buddha’s birthday was formalized at the first Conference of the World Fellowship of Buddhists held in Sri Lanka in 1950, although festivals at this time in the Buddhist world are a centuries-old tradition. The Resolution that was adopted at the World Conference reads as follows:
“ That this Conference of the World Fellowship of Buddhists, while recording its appreciation of the gracious act of His Majesty, the Maharaja of Nepal in making the full-moon day of Vesak a Public Holiday in Nepal, earnestly requests the Heads of Governments of all countries in which large or small number of Buddhists are to be found, to take steps to make the full-moon day in the month of May a Public Holiday in honour of the Buddha, who is universally acclaimed as one of the greatest benefactors of Humanity. ”
On Vesak Day, Buddhists all over the world commemorate events of significance to Buddhists of all traditions: The birth, enlightenment and the passing away of Gautama Buddha. As Buddhism spread from India it was assimilated into many foreign cultures, and consequently Vesak is celebrated in many different ways all over the world.
VesakVesak is an annual holiday observed traditionally by practicing Buddhists in many Asian countries like Nepal, Hong Kong, Singapore, Vietnam, Thailand, Cambodia, Malaysia, Sri Lanka, Myanmar, Indonesia,Pakistan, India, and Taiwan.
Sometimes informally called "Buddha's birthday," it actually encompasses the birth, enlightenment Nirvana, and passing (Parinirvana) of Gautama Buddha.
HistoryThe decision to agree to celebrate Vesak as the Buddha’s birthday was formalized at the first Conference of the World Fellowship of Buddhists held in Sri Lanka in 1950, although festivals at this time in the Buddhist world are a centuries-old tradition. The Resolution that was adopted at the World Conference reads as follows:
“ That this Conference of the World Fellowship of Buddhists, while recording its appreciation of the gracious act of His Majesty, the Maharaja of Nepal in making the full-moon day of Vesak a Public Holiday in Nepal, earnestly requests the Heads of Governments of all countries in which large or small number of Buddhists are to be found, to take steps to make the full-moon day in the month of May a Public Holiday in honour of the Buddha, who is universally acclaimed as one of the greatest benefactors of Humanity. ”
On Vesak Day, Buddhists all over the world commemorate events of significance to Buddhists of all traditions: The birth, enlightenment and the passing away of Gautama Buddha. As Buddhism spread from India it was assimilated into many foreign cultures, and consequently Vesak is celebrated in many different ways all over the world.
Wednesday, April 29, 2009
จงทำกับเพื่อนมนุษย์โดยคิดว่า...
พระธรรมโฆษาจารย์ (พุทธทาสภิกฺขุ)
Anuradhapura 2005 In Sri Lanka
That word nice to remind...who are you...and what you can manage your life with people in the world...
จงทำกับเพื่อนมนุษย์โดยคิดว่า...
เขาเป็นเพื่อน เกิด แก่เจ็บ ตาย ของเรา.
เขาเป็นเพื่อน เวียนว่ายอยู่ในวัฎฎสงสารด้วยกันกะเรา.
เขาก็ตกอยู่ใต้ อำนาจกิเลส เหมือนเรา ย่อมพลั้งเผลอไปบ้าง.
เขาก็มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่น้อยไปกว่าเรา.
เขาย่อมพลั้งเผลอบางคราว เหมือนเรา.
เขาก็ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม เหมือนเรา ไม่รู้จักนิพพานเหมือนเรา.
เขาโง่ในบางอย่าง เหมือนที่เราเคยโง่.
เขาก็ตามใจ ตัวเองในบางอย่าง เหมือนที่เราเคยกระทำ.
เขาก็อยากดี เหมือนเรา ที่อยาก ดี-เด่น-ดัง.
เขาก็มักจะกอบโกย และ เอาเปรียบ เมื่อมีโอกาสเหมือนเรา.
เขามีสิทธิที่จะบ้า ดี-เมาดี-หลงดี-จมดี เหมือนเรา.
เขาเป็น คนธรรมดา ที่ยึดมั่น ถือมั่น อะไรต่างๆ เหมือนเรา.
เขาไม่มี หน้าที่ ที่จะเป็นทุกข์ หรือตายแทนเรา.
เขาเป็น เพื่อน ร่วมชาติ ร่วมศาสนา กะเรา.
เขาก็ ทำอะไร ด้วย ความคิดชั่วแล่น และ ผลุนผลัน เหมือนเรา.
เขามี หน้าที่ รับผิดชอบ ต่อครอบครัวของเขา มิใช่ของเรา.
เขามีสิทธิ ที่จะมีรสนิยม ตามพอใจของเขา.
เขามีสิทธิ ที่จะเลือก ( แม้ศาสนา ) ตามพอใจของเขา.
เขามีสิทธิ ที่จะใช้ สมบัติ สาธารณะ เท่ากันกับเรา.
เขามีสิทธิ ที่จะเป็นโรคประสาท หรือเป็นบ้า เท่ากับเรา.
เขามีสิทธิ ที่จะขอความช่วย เหลือ เห็นอกเห็นใจ จากเรา.
เขามีสิทธิ ที่จะได้รับอภัย จากเรา ตามควรแก่กรณี.
เขามีสิทธิ ที่จะเป็นสังคมนิยม หรือ เสรีนิยม ตามใจเขา.
เขามีสิทธิ ที่จะเห็นแก่ตัว ก่อนเห็นแก่ผู้อื่น.
เขามีสิทธิ แห่งมนุษย์ชน เท่ากัน กับเรา , สำหรับจะอยู่ในใลก.....ถ้าเราคิดกันอย่างนี้ จะไม่มีการ ขัดแย้งใดๆเกิดขึ้น.
Tuesday, April 28, 2009
Culture and spiritual
Believe or not up to you :) But for this culture must follow...at least can remind me about Sangkhara in Dhamma...nothing permanent !!!
At Bt 25, Naka, Kedah...adalah satu tanah perkuburan yang agak tua...membawa seribu makna kepada mereka yang megunjungi...bagi aku tertarik dengan BUA atau tempat letak tulang sesetengah keturunan begitu mewah dan dihiasi dengan pelbagai batu dan permata...bagi aku...bukan satu cara yang baik untuk mengenang jasa orang tau atau keturunan pun....
Ada sesetengah keluarga layan ibubapa bagaikan binatang...apabila mati barulah sembahkan makan dan minum sesedap yang boleh...sedia tempat BUA yang cantik2...apa guna lagi...itu sudah tidak diperlukan lagi...yang penting kita perlu hormat dan sayang ibubapa atau orang tua ketika hidup...bukan dengan cara ini...
Tanah perkuburan adalah tempat plong-sangkarn...bagi aku tidak perlu menyedia tapak yang terlalu 'over' atau kejar2 dengan orang lain...Nah tengok tanah perkuburan Moyang aku....berusia lebuh 50 tahun...pokok bunga cina pun sudah besar tersergam di tanah itu...bukan tak ada duit...bukan hendak menunjuk2 untuk membina BUA...tapi perlu kekalkan tradisi begini...bahawa kematian tidak membawa apa2...melainkan kebaikan yang tinggal selama-lamanya...
At Bt 25, Naka, Kedah...adalah satu tanah perkuburan yang agak tua...membawa seribu makna kepada mereka yang megunjungi...bagi aku tertarik dengan BUA atau tempat letak tulang sesetengah keturunan begitu mewah dan dihiasi dengan pelbagai batu dan permata...bagi aku...bukan satu cara yang baik untuk mengenang jasa orang tau atau keturunan pun....
Ada sesetengah keluarga layan ibubapa bagaikan binatang...apabila mati barulah sembahkan makan dan minum sesedap yang boleh...sedia tempat BUA yang cantik2...apa guna lagi...itu sudah tidak diperlukan lagi...yang penting kita perlu hormat dan sayang ibubapa atau orang tua ketika hidup...bukan dengan cara ini...
Tanah perkuburan adalah tempat plong-sangkarn...bagi aku tidak perlu menyedia tapak yang terlalu 'over' atau kejar2 dengan orang lain...Nah tengok tanah perkuburan Moyang aku....berusia lebuh 50 tahun...pokok bunga cina pun sudah besar tersergam di tanah itu...bukan tak ada duit...bukan hendak menunjuk2 untuk membina BUA...tapi perlu kekalkan tradisi begini...bahawa kematian tidak membawa apa2...melainkan kebaikan yang tinggal selama-lamanya...
Thuat Sang...
Bua datuk...
ดับไม่เหลือ
อย่าเข้าใจว่าต้องเรียนมาก ต้องปฏิบัติลำบากจึงพ้นได้ถ้ารู้จริงสิ่งเดียวก็ง่ายดาย รู้ดับให้ไม่มีเหลือเชื่อก็ลองเมื่อเจ็บไข้ความตายจะมาถึง อย่าพรั่นพรึงหวาดไหวให้หม่นหมองระวังให้ดีดีนาทีทอง คอยจดจ้องให้ตรงจุดหยุดให้ทันถึงนาทีสุดท้ายอย่าให้พลาด ตั้งสติไม่ประมาทเพื่อดับขันธ์ด้วยจิตว่างปล่อยวางทุกสิ่งอัน สารพันไม่ยึดครองเป็นของเราตกกระไดพลอยโจนให้ดีดี จะถึงที่มุ่งหมายได้ง่ายเข้าสมัครใจดับไม่เหลือเมื่อไม่เอา ก็ " ดับเรา " ดับตนดลนิพพาน
อย่าเข้าใจว่าต้องเรียนมาก ต้องปฏิบัติลำบากจึงพ้นได้ถ้ารู้จริงสิ่งเดียวก็ง่ายดาย รู้ดับให้ไม่มีเหลือเชื่อก็ลองเมื่อเจ็บไข้ความตายจะมาถึง อย่าพรั่นพรึงหวาดไหวให้หม่นหมองระวังให้ดีดีนาทีทอง คอยจดจ้องให้ตรงจุดหยุดให้ทันถึงนาทีสุดท้ายอย่าให้พลาด ตั้งสติไม่ประมาทเพื่อดับขันธ์ด้วยจิตว่างปล่อยวางทุกสิ่งอัน สารพันไม่ยึดครองเป็นของเราตกกระไดพลอยโจนให้ดีดี จะถึงที่มุ่งหมายได้ง่ายเข้าสมัครใจดับไม่เหลือเมื่อไม่เอา ก็ " ดับเรา " ดับตนดลนิพพาน
Sunday, February 15, 2009
Good Idea -- Chalermchai Kositpipat
Wat Rong KhunChiang Rai
Wat Rong Khun is very different to any of temple you are likely to see in Thailand.
A lifetime project of artist Chalermchai Kositpipat, the temple has a fine blend of traditional Buddhist art with contemporary themes. The temple is almost entirely white – no other colours are used at all. It is though decorated with small pieces of mirrored glass which add substantially to the temple’s spacious and airy feel.
Designed to be viewed in moonlight, if you can manage to get there when the moon is out it’s worth the effort – very nice indeed. This temple is certainly worth a visit unless you have limited time.
เฉลิมชัยเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
“ชีวิตนี้มีแต่สุข'' ในยุคนี้น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ เจ้าของตำนานพูดไปด่าไปอันลือลั่น การที่คนคนหนึ่งซึ่งดูดุดัน ก้าวร้าว จะสามารถบรรจงสร้างงานศิลปะที่อ่อนช้อย งดงามราวเนรมิตได้นั้น มีความพิเศษที่ไม่เหมือนใคร เรามารู้จักตัวตนของเขาให้ลึกซึ้งกว่าที่เคยกันดีกว่า
ขอเริ่มด้วยความสำเร็จของอาจารย์ในวันนี้ว่ามีที่มาอย่างไร
ทราบมาว่าที่วัดนี้มีพนักงานเป็นร้อย แต่ไม่มีปัญหาในการทำงาน อาจารย์มีหลักในการบริหารจัดการอย่างไร ง่าย!
สวัสดิการมีอะไรบ้าง
อาจารย์กำหนดเงินเดือน เงินโบนัสอย่างไร
วิธีสอนต้อง สอนด้วยความเมตตา สอนด้วยการทำเป็นตัวอย่าง ไม่ได้สั่งอย่างเดียว เราทำทุกอย่างในวัดนี้ เช็ดถูพื้น กวาดขยะ กวาดใบไม้ ทำจนพวกมันเกรงใจ เมื่อก่อนต้องใส่หมวกเดินแทงขยะทั่ววัด ไม่พูดสักคำ แทงขยะ แทงใบไม้คนเดียว จนเดี๋ยวนี้ลูกศิษย์เห็นใบไม้หล่นอยู่ใบเดียวก็เก็บ เห็นเราจับไม้กวาดมันวิ่งมาแย่ง ไม่เคยต้องถือไม้กวาดเลยตอนนี้หาอะไรเก็บไม่ได้เลย
เลิกงานแล้วพายุมา มันวิ่งกันมาหมดเลย มาจากบ้าน มาเก็บเต็นท์ เก็บของ กวาดใบไม้ที่ปลิว ถ้าฝนตกกลางคืน ตีห้ามาดูเลย ออกมายี่สิบสามสิบคน มากวาดใบไม้หมดภายในพริบตา นี่คือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการบริหารจัดการคน บริหารจนความรู้สึกในใจเขาเหมือนเรา มีความรักวัดเหมือนกัน มีความรับผิดชอบเหมือนกัน มีความปรารถนาให้ความงดงามแก่ประชาชนเหมือนกัน
สอนมันว่า “บุญ ของมึงอยู่ใกล้กว่าคนอื่น มึงเก็บใบไม้ใบหนึ่ง มึงเก็บขยะชิ้นหนึ่ง มึงดูแลวัดด้วยความเป็นห่วงเป็นใยก็เป็นบุญของมึง มึงบริการประชาชนที่มาก็บุญของมึง มนุษย์คนอื่นสู้มึงไม่ได้เพราะต้องแสวงหาบุญ แต่บุญของพวกมึงอยู่ใกล้มึงตลอดเวลา”
เงินเดือนคือสัมภาระของชีวิต แต่บุญคือสัมภาระของจิตวิญญาณ ต้องแสวงหาเอง
แล้วภายในครอบครัวของอาจารย์มีหลักในการจัดสรรเงินอย่างไร
อาจารย์มีวิธีสอนลูกอย่างไร
ทุกวันนี้สังคมไทยชอบพอกพูนกิเลสให้แก่ลูก เด็กถูกพ่อแม่ ถูกสังคมยัดกิเลสให้ไม่รู้จักพอ อยากได้ อยากดี อยากเด่น อยากทุกอย่าง แต่เราหยิบยื่นความสุขให้แก่ลูก บอกเขาว่าไม่ต้องเคร่งเครียดในการเรียนมาก ไม่เคี่ยวเข็ญ ลูก ไม่จำเป็นต้องได้ที่หนึ่ง แต่จงเรียนอย่างมีความสุข ให้ผ่าน ให้รอดพอ ข้างหน้าจะเป็นยังไงลูกไม่ต้องใฝ่ฝัน ไม่ต้องอยากเป็นหมอ ไม่ต้องอยากเป็นอะไรที่คนอื่นเขาอยากเป็น ลูกจงถามใจของตัวเองว่าลูกปรารถนาอะไรที่เป็นความสุข แล้วจงทำสิ่งนั้น ลูกไม่ต้องไปสนใจว่าอาชีพอะไรที่ทำให้ลูกร่ำรวย อย่านึกถึงความร่ำรวย จงนึกถึงความสุขในใจของตัวเอง แล้วจงทำมัน ได้เงินน้อยไม่เป็นไร แต่ความสุขมีค่ามากกว่า
จงแสวงหาเงินเพื่อเลี้ยงชีวิตให้มีความสุข แต่ไม่ใช่แสวงหาความร่ำรวยแล้วทุกข์ เสียชาติเกิด
แล้วสอนให้เขารู้จักความทุกข์ด้วยหรือเปล่า แน่นอน เมื่อเขามีความสุขแล้วเราก็จะพูดถึงความทุกข์ทันที จะบอกเขาว่า ขณะนี้ลูกมีความสุข แต่ลูกจะต้องมีความทุกข์ตามมา เป็นต้นว่า ทุกข์เมื่อเสียของรัก ถูกเพื่อนขโมยของ หรือโตขึ้นมามีแฟนแล้วแฟนทิ้ง เมื่อลูกมีความสุข จะพูดถึงความทุกข์ให้ฟังด้วย ไปงานศพต้องพูด ใครตายต้องพูด เพื่อให้เห็นการพลัดพราก ยิ่งเพื่อนตายยิ่งดีเลย เขาจะได้รู้จักว่า ดีเลว สุขทุกข์ คู่กันเสมอ
แล้วตัวอาจารย์เอง สมัยวัยรุ่นเป็นอย่างไร
รู้สึกว่าตัวเองมีธรรมะตั้งแต่เมื่อไร ตอนแรกไม่รู้หรอกว่าเรามีธรรมะ แต่ว่ามันถูกสติเบรกตลอดเวลา เช่นเมื่อวันที่เมาที่สุด กลับมาบ้านตอนตีสามตีสี่ น่าจะมีความสุขกับสิ่งที่เสพมาทั้งหมด กินเหล้า มีผู้หญิงสวยๆ คิดดูสิ มันน่าจะมีความสุขใช่ไหม กลับมาบ้านแฮ้ง เมาชิ_หาย นอนเอนหลังอยู่บนเตียง จิตมันถามเลยว่า “ไอ้เหลิม มึงสุขเหรอ มึงสุขจริงเหรอวะ” เมื่อมีคำถาม เราถึงมีความรู้สึกว่า “กู ไม่ได้สุข กูเป็นทุกข์ หนึ่ง กูปวดหัว สอง พรุ่งนี้กูต้องมีปัญหากับผู้หญิงแน่ ต้องมีเรื่องวุ่นวายกับสิ่งที่กูกระทำเมื่อคืนนี้ กูไม่ได้สุขเลย กูหลอกลวงตัวกูเอง” การตอบตัวเองนำไปสู่การเรียนธรรมะ เริ่มจากการอ่านงานเขียนของอาจารย์พุทธทาส “คู่มือมนุษย์ ”
หลังจากเหตุการณ์นั้นเลยรู้ว่า เฮ้ย! ในใจกูมีธรรมะนี่หว่า
ทำไมถึงเลือกศึกษาธรรมะของท่านพุทธทาส
อาจารย์เชื่อเรื่องชาติภพไหม
มีขั้นตอนไหมว่าต้องเริ่มละกิเลสตัวไหนก่อน
ฝึกตัวเองให้กินเหล้าน้อยลง กินอย่างมีสติ เจอผู้หญิงสวย ชอบ แต่หยุดยั้งตัวเอง ไม่ลามปามไปสู่การเอาเปรียบผู้อื่น บางคนสวยมาก ทนไม่ได้ พาไปกินข้าว กินข้าวแล้วไม่เอา ถึงแม้ผู้หญิงจะให้โอกาสก็ไม่ทำ สติเบรกตลอดเวลา ไม่ทำอะไรที่ล่วงเกินก้าวข้ามไปสู่สิ่งที่ผิดศีลธรรม
ตอนหลังถอดเครื่องเพชร ถอดนาฬิกาแพงๆ ทิ้ง ไม่ซื้ออีก ไม่ปรารถนา ใส่เสื้อม่อฮ่อม ในขณะที่เมื่อก่อนไปออกงานที่ไหนไม่ใส่เครื่องเพชรไม่ได้ ทุกคนยังไม่เชื่อ หาว่าตอแหล เดี๋ยวมันก็กลับมาใส่อีก
สำหรับอาจารย์ กิเลสตัวไหนฆ่ายากที่สุด ความโกรธ ความโกรธนี่ยากที่สุด อันนี้ฝึกฆ่ามาตลอด จนเดี๋ยวนี้ ตั้งแต่อยู่วัดมา สี่ปีแรกก็ยังมีความโกรธ มีความไม่พอใจ สติหยุดความโกรธได้ช้า แต่ไม่เหมือนสมัยหนุ่มนะ สมัยหนุ่มเนี่ยโหดเหี้ยมมาก ตัวนี้ยากที่สุด เหลืออยู่ตัวเดียว ทุกวันนี้ก็ พยายามแก้ แต่เดี๋ยวนี้ดีขึ้นมาก สามปีหลังนี้ดีมาก ไม่เคยโกรธ หรือถ้าโกรธขึ้นมาก็หยุดยั้งได้เร็วกว่าแต่ก่อน
กับคนที่เรารักนี่โกรธไหม โกรธ หมด รักเริกอะไร โกรธหมด ไม่พอใจกูโกรธหมด ตัวนี้ฆ่ามันทุกวัน ฆ่ามันทั้งภายนอกภายใน เมื่อภายนอกเกิดความโกรธ สติต้องกำหนดว่า มึงโกรธแล้ว หยุดความโกรธ คำสั่งจะออก แต่เมื่อก่อนนี้คำสั่งออก ทำเลย ไม่สน กะซวกทันทีเลย
ตอนหลังนั่งสมาธิ ย้อนรอบ ชอบนั่งสมาธิตอนตีสองตีสาม มันจะย้อนให้เราเห็น ภาพอย่างละเอียด ทำไมกูยั้งไม่อยู่ จิตกูทำไมพ่ายแพ้กับมัน จะเห็นภาพชัดมาก เอาละ รอบหน้า เราจะยั้งด้วยวิธีอะไร อย่างนี้เขาเรียกว่าแก้ภายนอกแล้วแก้ภายใน แต่ถ้าไม่แก้ภายใน ภายนอกยังไงก็แก้ไม่ได้
เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งบอกว่า ก่อนตายถ้าจิตสุดท้ายคิดถึงสิ่งดีๆ ที่เคยทำมา แม้จะเคยทำชั่วมาบ้างแต่ถ้าจิตสุดท้ายกระหวัดไปถึงบุญกุศล ก็จะทำให้ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ อาจารย์เชื่ออย่างนั้นหรือเปล่า การ ฝึกวิปัสสนาฆ่ากิเลสของตัวเองก็เพื่อมุ่งไปจิตสุดท้ายนี่แหละ เราจะได้ไม่ต้องไปกระซิบข้างหูคนที่กำลังจะตายให้คิดถึงวัด คิดถึงบุญกุศล เพราะเอาเข้าจริงมันคิดไม่ได้หรอก ตัวกิเลสมันมีอำนาจมากกว่า ความหวงผัว หวงทรัพย์สมบัติ ความกลัวตายมันมากกว่า กูจะตายจริงเหรอ โอ๊ย! กู ไม่อยากตาย กูไม่อยากตาย หลานกูยังเล็กอยู่ ผัวกูมันต้องไปมีเมียน้อยแน่ สมบัติที่ซ่อนไว้ยังไม่ได้บอกใคร อยากจะพูด อยากจะบอกสารพัด คิดเหรอว่าความคิดที่เพิ่งไปทำบุญมาสามร้อยห้าสิบบาทมันจะแวบขึ้นมา ไม่มีทาง
ดังนั้นต้องฝึกเพื่อที่ว่าก่อนตายจะได้คิดเรื่องดีๆ หรือไม่คิดเลย ซึ่งสุดยอด ต้องฝึกให้ไปสู่จุดนั้น
พูดถึงสุขภาพอาจารย์บ้าง เป็นอย่างไร ตรวจเช็คบ้างหรือเปล่า ไม่ต้องเช็ค คนที่มีธรรมะแล้วเขาไม่อยากอยู่ในโลกนี้หรอก สำหรับตัวเองเมื่อป่วย บอกคนใกล้ชิดไว้แล้วว่าอย่าเป็นกังวล จงปล่อยให้ตายอย่าเอาหน้ากากมายัด อย่าเอาสายระโยงระยางมายัด จะทำอาการสำรวมสงบแล้วตาย จะเข้าสมาธิให้อยู่ในความว่างแล้วตาย ถ้าร่างกายไม่ดีเมื่อไหร่ จะเข้าสมาธิ พักผ่อน ไม่กินยา ก็หายทุกที ยกเว้นโรคอย่างมะเร็ง อัมพาต หรืออะไรที่สูงๆ นี่เป็นกรรม ต้องยอมรับด้วยความเบิกบาน ถือเป็นการชดใช้กันไป เมื่อป่วยก็จะเป็นสุข
ได้ยินว่าอาจารย์เคยมีปัญหาสุขภาพถึงขนาดจะสร้างวัดไม่สำเร็จจนต้องตั้งจิตอธิษฐาน
แต่ว่าเราเป็นคนที่เชื่อเรื่องกรรม เชื่อว่า เฮ้ย! เป็น เรื่องส่วนตัวของกู ถ้ามีกรรมทำให้ไม่สามารถสร้างวัดได้ จงเป็น แล้วตายไป หรือเป็นอัมพาตเดี้ยงไปเลย แต่ถ้าบุญกูยังมีอยู่ กูต้องชนะ กูต้องรอด เลือกเลย ยินดีทั้งสองทาง ยินดีในบุญ ยินดีในกรรม ยินดีในทุกข์ที่เกิดขึ้น ยินดีในสุขที่เกิดขึ้น ยินดีทั้งสองอย่างเท่าเทียมกัน เสร็จแล้วกลับมาวัด เข้าสมาธิ อดทนต่อสู้กับความเจ็บปวดของตัวเองอยู่สามเดือน เอาชนะความเจ็บปวดทุกอย่างด้วยตัวเราเอง จนกระทั่งหายเป็นปลิดทิ้ง
ไม่ไปหาหมอ
ตอนนั้นกลัวไหมว่าจะสร้างวัดไม่เสร็จ
จำไว้ว่า คนที่สุขจริงคือสุขได้แม้กายเป็นทุกข์ สองสิ่งนี้คู่กันเสมอ ฉะนั้น จงยินดีรับทุกข์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง เท่ากับยินดีในสุขที่เกิดขึ้น
ในการสร้างวัดร่องขุ่น คนพูดกันว่ามีปาฏิหาริย์หรือมีเทวดามาช่วย อาจารย์รู้สึกแบบนั้นหรือเปล่า
จุดประสงค์ที่อาจารย์สร้างวัดร่องขุ่น แท้จริงแล้วคืออะไร
ส่วนภายในเป็นเรื่องนามธรรม เพื่อเป็นสัมภาระในการเดินทางของจิตวิญญาณไปสู่สภาวะแห่งการไม่กลับมาเกิด
สมมุติถ้าเกิดอะไรขึ้นกับวัด อาจารย์ทำใจได้หรือ
จากจุดนี้แล้วอาจารย์ตั้งใจจะทำอะไรต่อคะ
ว่าไปแล้วก็เป็นการทำเพื่อหลุดพ้นของตัวเอง แปลว่ายังมีตัณหาใช่หรือไม่ ใช่ สิ ต้องเข้าใจว่าตัณหาของมนุษย์มีทั้งฝ่ายดีแหละฝ่ายเลว ฝ่ายดีต้องมีความทะเยอทะยาน มุ่งไปสู่ความหลุดพ้น ถ้าไม่มีตัณหา จะพยายามเหรอ ทุกอย่างมันต้องมีตัณหาหมด เขาเรียกว่าตัณหาฝ่ายดี ก่อนหลุดพ้นต้องมีตัณหาทั้งนั้น ตัณหาในที่นี้คือมีความอยากที่จะหลุดพ้น คนไม่มีความมุ่งมั่น ไม่อยาก มันจะเป็นอะไรได้ ไม่งั้นจะมีศาสดามาได้ไง จะมีผู้หลุดพ้นมาได้ไง
การเป็นมนุษย์มันดีตรงนี้ สัตว์มันไม่มีความมุ่งมั่น ไม่มีแรงทะเยอทะยาน การเกิดเป็นมนุษย์จึงเป็นการพัฒนาธรรมะของตัวเอง พัฒนาภพชาติของตัวเอง การได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นโชคดีที่สุด เพราะมนุษย์มีความทะเยอทะยาน มีเป้าหมาย
บั้นปลายชีวิตอาจารย์คิดจะบวชไหม
คำถามสุดท้าย อาจารย์คิดว่าตัวเองเป็นอัจฉริยะหรือเปล่า
Wat Rong Khun is very different to any of temple you are likely to see in Thailand.
A lifetime project of artist Chalermchai Kositpipat, the temple has a fine blend of traditional Buddhist art with contemporary themes. The temple is almost entirely white – no other colours are used at all. It is though decorated with small pieces of mirrored glass which add substantially to the temple’s spacious and airy feel.
Designed to be viewed in moonlight, if you can manage to get there when the moon is out it’s worth the effort – very nice indeed. This temple is certainly worth a visit unless you have limited time.
เฉลิมชัยเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
“ชีวิตนี้มีแต่สุข'' ในยุคนี้น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ เจ้าของตำนานพูดไปด่าไปอันลือลั่น การที่คนคนหนึ่งซึ่งดูดุดัน ก้าวร้าว จะสามารถบรรจงสร้างงานศิลปะที่อ่อนช้อย งดงามราวเนรมิตได้นั้น มีความพิเศษที่ไม่เหมือนใคร เรามารู้จักตัวตนของเขาให้ลึกซึ้งกว่าที่เคยกันดีกว่า
ขอเริ่มด้วยความสำเร็จของอาจารย์ในวันนี้ว่ามีที่มาอย่างไร
มี ธรรมะและสติเป็นธงชัยนำชีวิต รู้ตลอดเวลาว่าเรากำลังทำอะไร ไม่หวังจะกอบโกย รักในสิ่งที่ทำ มุ่งมั่นตั้งใจจริง ธรรมะสอนให้มีเป้าหมาย ทำให้เราสามารถดำรงชีวิต ร่วมกับผู้อื่นในโลกนี้อย่างปราศจากทุกข์ เมื่อปราศจากทุกข์แล้ว เราจะมีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ รู้จักให้เกียรติผู้อื่น ทำให้เจริญก้าวหน้า ทำอะไรก็สำเร็จ
ทราบมาว่าที่วัดนี้มีพนักงานเป็นร้อย แต่ไม่มีปัญหาในการทำงาน อาจารย์มีหลักในการบริหารจัดการอย่างไร ง่าย!
ใจ ต้องเป็นธรรมะมากที่สุด ใจต้องไม่มุ่งหวังให้เป็นของกู ไม่เอาเปรียบผู้อื่น วัดนี้ไม่เคยมีปัญหา ไม่มีใครย้ายไปทำงานที่อื่น ไม่มีใครทอดทิ้งเรา ทุกคนอยู่กันดี ทุกคนต้องอิ่ม ครอบครัวเขาต้องมีความสุข สวัสดิการเขาต้องดี ชีวิตครอบครัวเขาต้องดี ใจที่เป็นเมตตานั่นคือการบริหารที่ดีที่สุด
สวัสดิการมีอะไรบ้าง
ให้ ทุกอย่าง ให้โบนัสเหมือนที่อื่น มีเงินให้ยืมฟรีในกรณีฉุกเฉิน ที่นี่เราประชุมกันทุกเดือน หลังจากประชุมเสร็จก็จะถามถึงปัญหาครอบครัว ใครมีปัญหาบอกมา ลูกเรียนหนังสือฟรี รักษาพยาบาลฟรี อยู่ดีกินดี ไม่ต้องเสียค่าน้ำค่าไฟ รักษาโรคทุกอย่าง ตายเผาให้ ที่นี่เลี้ยงจนตายไม่มีเกษียณอายุ แก่ลงก็กวาดใบไม้ไป นี่ตายมา 3 คน แล้ว เราก็เผาให้ ไม่ใช่แค่ลูกศิษย์เรา ชาวบ้านเราก็ทำให้ ฟรีหมด รถขนศพ อาสนะ ไม่ต้องเสียเงินสักบาท ไม่ว่าใครตาย ไม่ว่ายากดีมีจน เราจ่ายให้ ศพละประมาณสองพันบาท อีกหน่อยเมรุเสร็จ คนงานก็เผาที่นี่เลย เผาฟรี
อาจารย์กำหนดเงินเดือน เงินโบนัสอย่างไร
พนักงาน เขากำหนดของเขาเอง ประชุมกันเอง เราสอนเขาในเรื่องคุณธรรม ไม่เห็นแก่ได้ ไม่เห็นแก่ตัว สอนมัชฌิมาปฏิปทา สอนธรรมะทุกอาทิตย์ สอนมาเป็นสิบๆ ปี ตั้งแต่มันเป็นคนชั่ว กระทั่งเป็นคนดี ขี้เหล้าเมายา สำส่อน เลว กลายเป็นคนดีหมด เป็นคนชอบเลี้ยงคนเลวให้เป็นคนดี ที่นี่พนักงานจะมีอำนาจในการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือนหรืออะไร หัวหน้าฝ่ายรวม 13 ฝ่าย เราสอนเขาเรื่องประชาธิปไตย การบริหารวัด สอนหมด ผู้จัดการควรทำอะไร ผู้ช่วยผู้จัดการทำอะไร เลขาฯทำอะไร หัวหน้าฝ่ายทำอะไร คนล้างห้องส้วม คนสวน สอนเองหมด แล้วทำให้ดูด้วย ฝ่ายประชาสัมพันธ์นี่สอนตั้งแต่พูดไมโครโฟน เริ่มจากจดให้แล้วบอก “มึงมานั่งข้างกู กูพูดให้มึงฟัง แล้วมึงพูดตาม สอนๆๆ จนเดี๋ยวนี้มันเก่งชิ_หาย ทุกอย่างสอนตัวต่อตัว จบป.6-ป.4 ก็พอ ไม่ต้องเรียนจบสถาบันไหน มึงมาเรียนกับกู”
วิธีสอนต้อง สอนด้วยความเมตตา สอนด้วยการทำเป็นตัวอย่าง ไม่ได้สั่งอย่างเดียว เราทำทุกอย่างในวัดนี้ เช็ดถูพื้น กวาดขยะ กวาดใบไม้ ทำจนพวกมันเกรงใจ เมื่อก่อนต้องใส่หมวกเดินแทงขยะทั่ววัด ไม่พูดสักคำ แทงขยะ แทงใบไม้คนเดียว จนเดี๋ยวนี้ลูกศิษย์เห็นใบไม้หล่นอยู่ใบเดียวก็เก็บ เห็นเราจับไม้กวาดมันวิ่งมาแย่ง ไม่เคยต้องถือไม้กวาดเลยตอนนี้หาอะไรเก็บไม่ได้เลย
เลิกงานแล้วพายุมา มันวิ่งกันมาหมดเลย มาจากบ้าน มาเก็บเต็นท์ เก็บของ กวาดใบไม้ที่ปลิว ถ้าฝนตกกลางคืน ตีห้ามาดูเลย ออกมายี่สิบสามสิบคน มากวาดใบไม้หมดภายในพริบตา นี่คือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการบริหารจัดการคน บริหารจนความรู้สึกในใจเขาเหมือนเรา มีความรักวัดเหมือนกัน มีความรับผิดชอบเหมือนกัน มีความปรารถนาให้ความงดงามแก่ประชาชนเหมือนกัน
สอนมันว่า “บุญ ของมึงอยู่ใกล้กว่าคนอื่น มึงเก็บใบไม้ใบหนึ่ง มึงเก็บขยะชิ้นหนึ่ง มึงดูแลวัดด้วยความเป็นห่วงเป็นใยก็เป็นบุญของมึง มึงบริการประชาชนที่มาก็บุญของมึง มนุษย์คนอื่นสู้มึงไม่ได้เพราะต้องแสวงหาบุญ แต่บุญของพวกมึงอยู่ใกล้มึงตลอดเวลา”
เงินเดือนคือสัมภาระของชีวิต แต่บุญคือสัมภาระของจิตวิญญาณ ต้องแสวงหาเอง
แล้วภายในครอบครัวของอาจารย์มีหลักในการจัดสรรเงินอย่างไร
สิ่งที่สำคัญที่สุดคืออย่าเป็นหนี้ หาได้เท่าไรก็ใช้แบบพอเพียง รู้จักแบ่งสันปันส่วน จะต้องมีเงินเหลือติดกระเป๋าทุกครั้ง อย่าใช้จนหมดตูด เวลายากจนเนี่ย หาเงินไม่ได้จริงๆ ก็อด ไม่กิน บางครั้ง ก็กินข้าวกับน้ำปลา พอมีเงินต้องมีเก็บและต้องไม่เป็นหนี้ เมื่อก่อน ประกวดผลงานได้เงินรางวัลมาหมื่นห้า แทนที่จะเอามาเลี้ยงกัน นี่ไม่เอา ไม่เลี้ยงใคร เลี้ยงเพื่อนสนิทจริงๆ สองสามคน อย่างเก่ง เลี้ยงข้าวสองสามร้อยบาท ประเภทเลี้ยงเหล้าเมาหัวราน้ำหมดไปห้าพัน อย่าฝัน ไม่ทำ เพราะวันข้างหน้าไม่รู้ว่าจะมีหรือเปล่า ตอนยากจน โคตรระวังในการใช้เงิน จะใช้เงินแบบวันข้างหน้าอาจจะอด พอรวยแล้วก็ยังเป็นอย่างนั้น จนกระทั่งรู้ว่าวันข้างหน้าไม่อดแล้ว ไม่จำเป็นต้องระวังแล้ว ก็สุรุ่ยสุร่ายขึ้นมาบ้าง แต่ก็ยังเก็บเงิน ต่อให้เที่ยวสำส่อนขนาดไหนก็มีเงินเก็บ ถ้าเราตาย เมียจะดูแลทุกอย่างหมด ไม่เคยเก็บเงินใช้ส่วนตัวแม้แต่บาทเดียว มีชีวิตที่เรียบง่ายที่สุด กินข้าววัด กินพร้อมลูกศิษย์ มันเคาะระฆังก็ไปกินกับมัน ไม่ใช้เงิน ดูแลครอบครัวก่อน จากนั้นทำบุญสร้างวัดหมดเลย
อาจารย์มีวิธีสอนลูกอย่างไร
กับลูกสอนประจำว่า “จงมีความสุข” ไม่มีคำสอนอะไรที่มากกว่านี้ ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม ให้เขาทำทุกอย่างที่เขามีความสุข แต่ไม่ต้องเบียดเบียนใคร
ทุกวันนี้สังคมไทยชอบพอกพูนกิเลสให้แก่ลูก เด็กถูกพ่อแม่ ถูกสังคมยัดกิเลสให้ไม่รู้จักพอ อยากได้ อยากดี อยากเด่น อยากทุกอย่าง แต่เราหยิบยื่นความสุขให้แก่ลูก บอกเขาว่าไม่ต้องเคร่งเครียดในการเรียนมาก ไม่เคี่ยวเข็ญ ลูก ไม่จำเป็นต้องได้ที่หนึ่ง แต่จงเรียนอย่างมีความสุข ให้ผ่าน ให้รอดพอ ข้างหน้าจะเป็นยังไงลูกไม่ต้องใฝ่ฝัน ไม่ต้องอยากเป็นหมอ ไม่ต้องอยากเป็นอะไรที่คนอื่นเขาอยากเป็น ลูกจงถามใจของตัวเองว่าลูกปรารถนาอะไรที่เป็นความสุข แล้วจงทำสิ่งนั้น ลูกไม่ต้องไปสนใจว่าอาชีพอะไรที่ทำให้ลูกร่ำรวย อย่านึกถึงความร่ำรวย จงนึกถึงความสุขในใจของตัวเอง แล้วจงทำมัน ได้เงินน้อยไม่เป็นไร แต่ความสุขมีค่ามากกว่า
จงแสวงหาเงินเพื่อเลี้ยงชีวิตให้มีความสุข แต่ไม่ใช่แสวงหาความร่ำรวยแล้วทุกข์ เสียชาติเกิด
แล้วสอนให้เขารู้จักความทุกข์ด้วยหรือเปล่า แน่นอน เมื่อเขามีความสุขแล้วเราก็จะพูดถึงความทุกข์ทันที จะบอกเขาว่า ขณะนี้ลูกมีความสุข แต่ลูกจะต้องมีความทุกข์ตามมา เป็นต้นว่า ทุกข์เมื่อเสียของรัก ถูกเพื่อนขโมยของ หรือโตขึ้นมามีแฟนแล้วแฟนทิ้ง เมื่อลูกมีความสุข จะพูดถึงความทุกข์ให้ฟังด้วย ไปงานศพต้องพูด ใครตายต้องพูด เพื่อให้เห็นการพลัดพราก ยิ่งเพื่อนตายยิ่งดีเลย เขาจะได้รู้จักว่า ดีเลว สุขทุกข์ คู่กันเสมอ
แล้วตัวอาจารย์เอง สมัยวัยรุ่นเป็นอย่างไร
เราก็บ้าบอคอแตกของเราไป กินเหล้าเมายา เที่ยวสำส่อน แต่โชคดีที่มีธรรมะมาตั้งแต่เกิด เพียงแต่มนุษย์ต้องเป็นไปตามวัย แต่ว่าเรารู้ตัวตลอด เราบอกตัวเองว่า ต้องการรู้ถึงความเลวเพื่อปล่อยวางในอนาคต
อาจารย์เคยลองเสพยาไหม ลองทุกอย่าง กัญชา ยากล่อมประสาท อยากรู้ว่ามันเป็นยังไง แต่ไม่ติด เพราะต้องการศึกษา ต้องการเรียนรู้ ไม่ได้หลงใหลไปกับมัน แต่เด็กที่อ่อนแอ ไม่มีธรรมะนั้น อย่าแตะต้องสิ่งเหล่านี้ เพราะมันไม่มีเป้าหมายอย่างเรา ว่าวันหนึ่งข้างหน้ากูต้องเป็นคนดีคนที่อ่อนแอ พอเสพก็ติดหลงใหลไปเลย แต่เรารู้จักเบรก มีสติ
อาจารย์เคยลองเสพยาไหม ลองทุกอย่าง กัญชา ยากล่อมประสาท อยากรู้ว่ามันเป็นยังไง แต่ไม่ติด เพราะต้องการศึกษา ต้องการเรียนรู้ ไม่ได้หลงใหลไปกับมัน แต่เด็กที่อ่อนแอ ไม่มีธรรมะนั้น อย่าแตะต้องสิ่งเหล่านี้ เพราะมันไม่มีเป้าหมายอย่างเรา ว่าวันหนึ่งข้างหน้ากูต้องเป็นคนดีคนที่อ่อนแอ พอเสพก็ติดหลงใหลไปเลย แต่เรารู้จักเบรก มีสติ
รู้สึกว่าตัวเองมีธรรมะตั้งแต่เมื่อไร ตอนแรกไม่รู้หรอกว่าเรามีธรรมะ แต่ว่ามันถูกสติเบรกตลอดเวลา เช่นเมื่อวันที่เมาที่สุด กลับมาบ้านตอนตีสามตีสี่ น่าจะมีความสุขกับสิ่งที่เสพมาทั้งหมด กินเหล้า มีผู้หญิงสวยๆ คิดดูสิ มันน่าจะมีความสุขใช่ไหม กลับมาบ้านแฮ้ง เมาชิ_หาย นอนเอนหลังอยู่บนเตียง จิตมันถามเลยว่า “ไอ้เหลิม มึงสุขเหรอ มึงสุขจริงเหรอวะ” เมื่อมีคำถาม เราถึงมีความรู้สึกว่า “กู ไม่ได้สุข กูเป็นทุกข์ หนึ่ง กูปวดหัว สอง พรุ่งนี้กูต้องมีปัญหากับผู้หญิงแน่ ต้องมีเรื่องวุ่นวายกับสิ่งที่กูกระทำเมื่อคืนนี้ กูไม่ได้สุขเลย กูหลอกลวงตัวกูเอง” การตอบตัวเองนำไปสู่การเรียนธรรมะ เริ่มจากการอ่านงานเขียนของอาจารย์พุทธทาส “คู่มือมนุษย์ ”
หลังจากเหตุการณ์นั้นเลยรู้ว่า เฮ้ย! ในใจกูมีธรรมะนี่หว่า
ทำไมถึงเลือกศึกษาธรรมะของท่านพุทธทาส
เพราะ เราไม่เชื่อเรื่องไร้สาระ เราเชื่อเรื่องเหตุและผล บังเอิญมีหนังสือ คู่มือมนุษย์ อยู่แล้วที่บ้าน แต่ไม่เคยอ่าน มีหนังสือธรรมะอยู่เต็มบ้าน เมื่อปี 2525 ศึกษา มาหมดนะ ศึกษามโนมยิทธิ ศึกษาพระธรรมกาย ศึกษายุบหนอพองหนอ ศึกษาทุกสาย เพื่อมุ่งหวังไปสู่ไสยศาสตร์ เดิมทีสนใจเรื่องพวกนี้ แต่ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จ ก็ละวางหมด
อาจารย์เชื่อเรื่องชาติภพไหม
เชื่อ มาก และเชื่อว่าธรรมะปฏิบัติในภพชาตินี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำไปสู่ภพชาติที่ เราปรารถนา ตอนนั้นศึกษาธรรมะของอาจารย์พุทธทาสจนเข้าใจ เมื่อเข้าใจก็เริ่มด้วยการฆ่ากิเลสในใจตัวเอง คือ ก้าวข้ามกระโดดไปสู่การฆ่ากิเลสในใจตัวเอง ฝึกละกิเลส ตั้งแต่ความโลภ ความอิจฉาริษยา ความหลง ยึดมั่นถือมั่น ทุกอย่าง
มีขั้นตอนไหมว่าต้องเริ่มละกิเลสตัวไหนก่อน
เริ่ม จากตัวที่ง่ายที่สุดก่อนเพื่อเป็นกำลังใจ สำหรับตัวเองที่ง่ายที่สุดคือ ฆ่าเรื่องวัตถุ บ้าบอคอแตก ความบ้าเพชร บ้าพลอย ฆ่าวัตถุ นำไปสู่การฆ่าความหลง ความยึดมั่นถือมั่น เหล่านี้ฆ่าก่อน เพราะมันเป็นตัวอ่อนที่สุดของตัวเรา แต่บางทีมันเป็นตัวแข็งที่สุดของคนอื่น
ฝึกตัวเองให้กินเหล้าน้อยลง กินอย่างมีสติ เจอผู้หญิงสวย ชอบ แต่หยุดยั้งตัวเอง ไม่ลามปามไปสู่การเอาเปรียบผู้อื่น บางคนสวยมาก ทนไม่ได้ พาไปกินข้าว กินข้าวแล้วไม่เอา ถึงแม้ผู้หญิงจะให้โอกาสก็ไม่ทำ สติเบรกตลอดเวลา ไม่ทำอะไรที่ล่วงเกินก้าวข้ามไปสู่สิ่งที่ผิดศีลธรรม
ตอนหลังถอดเครื่องเพชร ถอดนาฬิกาแพงๆ ทิ้ง ไม่ซื้ออีก ไม่ปรารถนา ใส่เสื้อม่อฮ่อม ในขณะที่เมื่อก่อนไปออกงานที่ไหนไม่ใส่เครื่องเพชรไม่ได้ ทุกคนยังไม่เชื่อ หาว่าตอแหล เดี๋ยวมันก็กลับมาใส่อีก
สำหรับอาจารย์ กิเลสตัวไหนฆ่ายากที่สุด ความโกรธ ความโกรธนี่ยากที่สุด อันนี้ฝึกฆ่ามาตลอด จนเดี๋ยวนี้ ตั้งแต่อยู่วัดมา สี่ปีแรกก็ยังมีความโกรธ มีความไม่พอใจ สติหยุดความโกรธได้ช้า แต่ไม่เหมือนสมัยหนุ่มนะ สมัยหนุ่มเนี่ยโหดเหี้ยมมาก ตัวนี้ยากที่สุด เหลืออยู่ตัวเดียว ทุกวันนี้ก็ พยายามแก้ แต่เดี๋ยวนี้ดีขึ้นมาก สามปีหลังนี้ดีมาก ไม่เคยโกรธ หรือถ้าโกรธขึ้นมาก็หยุดยั้งได้เร็วกว่าแต่ก่อน
กับคนที่เรารักนี่โกรธไหม โกรธ หมด รักเริกอะไร โกรธหมด ไม่พอใจกูโกรธหมด ตัวนี้ฆ่ามันทุกวัน ฆ่ามันทั้งภายนอกภายใน เมื่อภายนอกเกิดความโกรธ สติต้องกำหนดว่า มึงโกรธแล้ว หยุดความโกรธ คำสั่งจะออก แต่เมื่อก่อนนี้คำสั่งออก ทำเลย ไม่สน กะซวกทันทีเลย
ตอนหลังนั่งสมาธิ ย้อนรอบ ชอบนั่งสมาธิตอนตีสองตีสาม มันจะย้อนให้เราเห็น ภาพอย่างละเอียด ทำไมกูยั้งไม่อยู่ จิตกูทำไมพ่ายแพ้กับมัน จะเห็นภาพชัดมาก เอาละ รอบหน้า เราจะยั้งด้วยวิธีอะไร อย่างนี้เขาเรียกว่าแก้ภายนอกแล้วแก้ภายใน แต่ถ้าไม่แก้ภายใน ภายนอกยังไงก็แก้ไม่ได้
เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งบอกว่า ก่อนตายถ้าจิตสุดท้ายคิดถึงสิ่งดีๆ ที่เคยทำมา แม้จะเคยทำชั่วมาบ้างแต่ถ้าจิตสุดท้ายกระหวัดไปถึงบุญกุศล ก็จะทำให้ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ อาจารย์เชื่ออย่างนั้นหรือเปล่า การ ฝึกวิปัสสนาฆ่ากิเลสของตัวเองก็เพื่อมุ่งไปจิตสุดท้ายนี่แหละ เราจะได้ไม่ต้องไปกระซิบข้างหูคนที่กำลังจะตายให้คิดถึงวัด คิดถึงบุญกุศล เพราะเอาเข้าจริงมันคิดไม่ได้หรอก ตัวกิเลสมันมีอำนาจมากกว่า ความหวงผัว หวงทรัพย์สมบัติ ความกลัวตายมันมากกว่า กูจะตายจริงเหรอ โอ๊ย! กู ไม่อยากตาย กูไม่อยากตาย หลานกูยังเล็กอยู่ ผัวกูมันต้องไปมีเมียน้อยแน่ สมบัติที่ซ่อนไว้ยังไม่ได้บอกใคร อยากจะพูด อยากจะบอกสารพัด คิดเหรอว่าความคิดที่เพิ่งไปทำบุญมาสามร้อยห้าสิบบาทมันจะแวบขึ้นมา ไม่มีทาง
ดังนั้นต้องฝึกเพื่อที่ว่าก่อนตายจะได้คิดเรื่องดีๆ หรือไม่คิดเลย ซึ่งสุดยอด ต้องฝึกให้ไปสู่จุดนั้น
พูดถึงสุขภาพอาจารย์บ้าง เป็นอย่างไร ตรวจเช็คบ้างหรือเปล่า ไม่ต้องเช็ค คนที่มีธรรมะแล้วเขาไม่อยากอยู่ในโลกนี้หรอก สำหรับตัวเองเมื่อป่วย บอกคนใกล้ชิดไว้แล้วว่าอย่าเป็นกังวล จงปล่อยให้ตายอย่าเอาหน้ากากมายัด อย่าเอาสายระโยงระยางมายัด จะทำอาการสำรวมสงบแล้วตาย จะเข้าสมาธิให้อยู่ในความว่างแล้วตาย ถ้าร่างกายไม่ดีเมื่อไหร่ จะเข้าสมาธิ พักผ่อน ไม่กินยา ก็หายทุกที ยกเว้นโรคอย่างมะเร็ง อัมพาต หรืออะไรที่สูงๆ นี่เป็นกรรม ต้องยอมรับด้วยความเบิกบาน ถือเป็นการชดใช้กันไป เมื่อป่วยก็จะเป็นสุข
ได้ยินว่าอาจารย์เคยมีปัญหาสุขภาพถึงขนาดจะสร้างวัดไม่สำเร็จจนต้องตั้งจิตอธิษฐาน
เป็นกระดูกทับเส้นประสาท เดี้ยง ชาทั้งตัว ปวด ทำงานไม่ได้ ตอนนั้นสร้างวัดมาได้ สักสามปี เดี้ยงหมดเลย นอนเจ็บทรมาน ไปหาหมอ หมอก็บอกต้องผ่าคอ ชาไปข้างหนึ่งแล้วเจ็บปวดทั้งตัว ปวดแขนร้าวลงมา คอก็ยกไม่ขึ้น นอนได้ท่าเดียวตลอด ต้องใส่ปลอกคอ
แต่ว่าเราเป็นคนที่เชื่อเรื่องกรรม เชื่อว่า เฮ้ย! เป็น เรื่องส่วนตัวของกู ถ้ามีกรรมทำให้ไม่สามารถสร้างวัดได้ จงเป็น แล้วตายไป หรือเป็นอัมพาตเดี้ยงไปเลย แต่ถ้าบุญกูยังมีอยู่ กูต้องชนะ กูต้องรอด เลือกเลย ยินดีทั้งสองทาง ยินดีในบุญ ยินดีในกรรม ยินดีในทุกข์ที่เกิดขึ้น ยินดีในสุขที่เกิดขึ้น ยินดีทั้งสองอย่างเท่าเทียมกัน เสร็จแล้วกลับมาวัด เข้าสมาธิ อดทนต่อสู้กับความเจ็บปวดของตัวเองอยู่สามเดือน เอาชนะความเจ็บปวดทุกอย่างด้วยตัวเราเอง จนกระทั่งหายเป็นปลิดทิ้ง
ไม่ไปหาหมอ
ไปหาหมอ หมอจะผ่า หมอจะจัดการทุกอย่างตามระบบของแพทย์ แต่เราก็หลอกหมอว่า ขอกลับบ้านมาคิดดูก่อน เชื่อว่ามันเป็นสภาวะของกรรมซึ่งเข้ามาทดสอบใจเรา รู้เลยว่านี่เป็นเรื่องระหว่างกูกับกรรมเก่า ไม่เกี่ยวกับหมอ ไม่เกี่ยวกับใคร
ตอนนั้นกลัวไหมว่าจะสร้างวัดไม่เสร็จ
ไม่ สร้างได้ เรื่องทุกอย่างมันอยู่ที่ใจ ถ้าเราเชื่อในตัวเราเชื่อว่าธรรมะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว เป็นหนทางที่ถูกต้องที่สุดแล้ว ชีวิตเราจะมีแต่ความสุข โคตรความสุข เราจะมองว่าสรรพสิ่งสรรพสัตว์ในโลกล้วนกระจอกงอกง่อย ไร้สาระ ไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร โลกมนุษย์นี้กูเดินทางมาแค่แวบเดียว เพื่อมาดูมันแล้วกูก็จะไป มันไม่มีค่าอะไรเลยสักอย่าง ป่วยก็ไม่อยากให้ใครมายุ่งเกี่ยว เป็นอัมพาตอัมพฤกษ์กูก็ยินดี กูจะนั่งรถเข็นด้วยใจที่เบิกบาน บอกเมียเตรียมรถเข็นไว้เลย ไม่ต้องห่วง ถ้าเดี้ยงก็จะบอกลูกศิษย์ลูกหาให้เข็นมาดูวัด แล้วกูสั่งการมึง กูนั่งรถเข็น กูเดี้ยงข้างหนึ่ง ถึงปากกูเบี้ยวหน้ากูยังยิ้ม (ทำท่าประกอบสมจริงมาก) กูก็ยังมีความสุข แล้วกูก็ป่วยไปเรื่อยๆ แล้วกูก็ตาย จบที่สุดของวิบากกรรม ไม่เห็นเป็นไรเลย วัดนี่สร้างได้อยู่ดี
แล้วอาจารย์หายได้อย่างไร นั่งสมาธิอย่างเดียว นั่งมากที่สุด เป็นความว่างอย่างเดียว ดับสมอง ดับทุกอย่าง แล้วก็จี้ไปตรงความเจ็บปวด จนกระทั่งไร้ความเจ็บปวด เวลาออกสมาธิกลับมาปวดอย่างเดิม ก็ไม่เป็นไร ไม่สน ไม่ไปจ้องที่ความเจ็บปวด ไม่ไปคิดว่า “ทำไมกูถึงมีกรรมขนาดนี้” ทนรับกรรมด้วยความเบิกบาน ไม่หดหู่ใจ ไม่เศร้าหมอง ไม่เสียใจ ไม่รู้สึกรำคาญ ไม่ อยากฆ่าตัวตาย พอเรายินดีเบิกบานในความเจ็บปวด ความเจ็บปวดนั้นก็เบาลง
แล้วอาจารย์หายได้อย่างไร นั่งสมาธิอย่างเดียว นั่งมากที่สุด เป็นความว่างอย่างเดียว ดับสมอง ดับทุกอย่าง แล้วก็จี้ไปตรงความเจ็บปวด จนกระทั่งไร้ความเจ็บปวด เวลาออกสมาธิกลับมาปวดอย่างเดิม ก็ไม่เป็นไร ไม่สน ไม่ไปจ้องที่ความเจ็บปวด ไม่ไปคิดว่า “ทำไมกูถึงมีกรรมขนาดนี้” ทนรับกรรมด้วยความเบิกบาน ไม่หดหู่ใจ ไม่เศร้าหมอง ไม่เสียใจ ไม่รู้สึกรำคาญ ไม่ อยากฆ่าตัวตาย พอเรายินดีเบิกบานในความเจ็บปวด ความเจ็บปวดนั้นก็เบาลง
จำไว้ว่า คนที่สุขจริงคือสุขได้แม้กายเป็นทุกข์ สองสิ่งนี้คู่กันเสมอ ฉะนั้น จงยินดีรับทุกข์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง เท่ากับยินดีในสุขที่เกิดขึ้น
ในการสร้างวัดร่องขุ่น คนพูดกันว่ามีปาฏิหาริย์หรือมีเทวดามาช่วย อาจารย์รู้สึกแบบนั้นหรือเปล่า
อย่าไปสนใจ ไร้สาระ บุญถึงมันก็สร้างได้ บุญคืออะไร คือธรรมะในใจของตัวเราเอง คือมีความเมตตา นำไปสู่ความสำเร็จทุกอย่าง ประหนึ่งเทวดามาดูแลปกปักรักษา มาคุ้มครองคุ้มภัย มนุษย์ถ้าสร้างบุญมาก ทำอะไรก็สำเร็จง่ายดาย
จุดประสงค์ที่อาจารย์สร้างวัดร่องขุ่น แท้จริงแล้วคืออะไร
ภายนอกเป็นเรื่องของรูปธรรม ว่าสร้างเพื่อค้ำจุนศาสนา เพื่อที่จะมอบให้แก่ชาติบ้านเมือง และเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เป็นศิลปะสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ไม่ ลอกเลียนใคร เป็นความกตัญญูในบ้านเกิด ต้องการให้เกิดประโยชน์ในแง่ของเศรษฐกิจ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ใหญ่ระดับโลก
ส่วนภายในเป็นเรื่องนามธรรม เพื่อเป็นสัมภาระในการเดินทางของจิตวิญญาณไปสู่สภาวะแห่งการไม่กลับมาเกิด
สมมุติถ้าเกิดอะไรขึ้นกับวัด อาจารย์ทำใจได้หรือ
ศึกษา ธรรมะมาขนาดนี้ จะไปยึดมั่นอะไรเล่า สร้างก็สร้างไป ตายก็ตายไป ก็บอกแล้วว่าความตายก็ไม่สนใจ จะสนใจวัตถุพวกนี้ได้ไง มันไม่มีค่าอะไร ค่าเหล่านี้มันเป็นค่าจากการปรุงแต่งของมนุษย์ตัวอื่น ไม่ใช่สัตว์อย่างกู ช่วยเขียนไปด้วย มนุษย์ตัวอื่นมันยินดี มันยึดติดถือมั่น แต่คน อย่างเราไม่ใช่ เราสร้างเพื่อปล่อยวาง สร้างเพื่อฆ่ากิเลสของตัวเอง สร้างเพื่อเป็นสารประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติที่มันยังยึดติดและหลงใหลในสิ่งนี้อยู่
จากจุดนี้แล้วอาจารย์ตั้งใจจะทำอะไรต่อคะ
สร้างความเมตตาให้แก่กล้า หยิบยื่นทุกอย่างให้แก่ประชาชน ประเทศชาติ และศาสนา จะทำประโยชน์ให้แก่มนุษย์คนอื่นจนลมหายใจสุดท้าย เมตตาคือสิ่งที่สูงที่สุดของบุญบารมี นี่คือการสร้างบุญบารมีในรอบสุดท้ายของตัวเอง
ว่าไปแล้วก็เป็นการทำเพื่อหลุดพ้นของตัวเอง แปลว่ายังมีตัณหาใช่หรือไม่ ใช่ สิ ต้องเข้าใจว่าตัณหาของมนุษย์มีทั้งฝ่ายดีแหละฝ่ายเลว ฝ่ายดีต้องมีความทะเยอทะยาน มุ่งไปสู่ความหลุดพ้น ถ้าไม่มีตัณหา จะพยายามเหรอ ทุกอย่างมันต้องมีตัณหาหมด เขาเรียกว่าตัณหาฝ่ายดี ก่อนหลุดพ้นต้องมีตัณหาทั้งนั้น ตัณหาในที่นี้คือมีความอยากที่จะหลุดพ้น คนไม่มีความมุ่งมั่น ไม่อยาก มันจะเป็นอะไรได้ ไม่งั้นจะมีศาสดามาได้ไง จะมีผู้หลุดพ้นมาได้ไง
การเป็นมนุษย์มันดีตรงนี้ สัตว์มันไม่มีความมุ่งมั่น ไม่มีแรงทะเยอทะยาน การเกิดเป็นมนุษย์จึงเป็นการพัฒนาธรรมะของตัวเอง พัฒนาภพชาติของตัวเอง การได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นโชคดีที่สุด เพราะมนุษย์มีความทะเยอทะยาน มีเป้าหมาย
บั้นปลายชีวิตอาจารย์คิดจะบวชไหม
ไม่ต้องการบวช เพราะเชื่อว่าไม่ต้องบวชก็สามารถละภพชาติได้ เราบวชภายใน ไม่ต้องบวชภายนอก เราอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ช่วยเหลือ เมตตา ไม่ เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบใคร ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดอย่างมีคุณธรรม
คำถามสุดท้าย อาจารย์คิดว่าตัวเองเป็นอัจฉริยะหรือเปล่า
ไม่เลย อัจฉริยะเป็นเพียงคำจำกัดความของคนที่เหนือกว่าผู้อื่น เราไม่ได้เหนือกว่าผู้อื่น เรามองค่าของใจมากกว่าวัตถุ ไม่มองวัตถุเหนือใจ คนอาจมองว่าเราเหนือกว่าคนอื่นในเรื่องวัตถุ แต่เรากลับเห็นว่าตัวเองกระจอก ไม่มีค่าเลย ใจของเราที่ต่อสู้มา ที่ฝึกฝนมานั้นสำคัญกว่า วัตถุเดี๋ยวนี้ผุพังไปตามกาลเวลา มันไม่คนทน ไม่ได้งดงามอย่างนี้ไปตลอด สุดท้ายมันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของไม่เที่ยง แต่สิ่งสำคัญคือใจเรา ดังนั้นใครจะบอกเป็นอัจฉริยะอะไร ไม่สนใจ ไม่เคยเย่อหยิ่งทรนงว่าพิเศษเหนือกว่าคนอื่น สิ่งเดียวที่พิเศษกว่าคือ “กูไม่มีทุกข์”
ที่มา http://www.kanlayanatam.com/sara/chalermchai.pdf
ที่มา http://www.kanlayanatam.com/sara/chalermchai.pdf
Tuesday, January 27, 2009
Temple
Subscribe to:
Posts (Atom)